โอกาส SME ลาว เจาะตลาดในประเทศไทย

ประเทศไทย นับเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีความใกล้ชิดกันกับ ลาวมานาน เนื่องจาก เป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกันเป็นระยะทางยาว มีภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน สามารถสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องใช้ล่าม ประเทศไทยมีประชากร จำนวนมากถึง 67 ล้านคน

ภาวะการค้าชายแดนลาวไทย

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2017(..-มิ..) มีมูลค่าการค้ารวม 101,191.52 ล้านบาท เทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 99,636.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56 โดยเป็นการส่งออก มูลค่า 35,133.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีก่อน 5052.3 ล้านบาท คิดเป็น 16.79% การนำเข้ามูลค่า 66,058.02 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วในเวลาเดียวกัน 3497.14 ล้านบาท คิดเป็น 5%   ลาวขาดดุลการค้า 30,924.52 ล้านบาท ลดลง จากปีที่แล้ว 8,549.44  ล้านบาท คิดเป็น 21.65%

โดย สินค้าส่งออก ประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ เชื้อเพลิงอื่นๆ (พลังงานไฟฟ้า) (46.22%) ทองแดงและผลิตภัณฑ์ (15.29%) เครื่องรับ ส่ง สัญญาณ และอุปกรณ์ติดตั้ง (12.09%) ผักและของปรุงแต่งจากผัก (7.87%) เครื่องรับโทรทัศน์ โทรศัพท์ (5.04%) ในขณะที่ สินค้านำเข้าจากประเทสไทย มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันดีเซล (11.13%) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ(7.14%) สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ(6.83%) น้ำมันสำเร็จรูป (4.78%) และสินค้า ปสุสัตว์ (3.42%)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ

โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร  ประเทศไทย

นอกเหนือจาก การส่งออกสินค้า ดังกล่าว ใน 5 อันดับแรก จะพบว่า สินค้า ส่งออก ที่น่าสนใจ ที่ มาจากผู้ประกอบการ SME ได้แก่ กาแฟ ชา เครื่องเทศ  ผักและของปรุงแต่งจากผัก โดย จากนโยบาย ส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ ของรัฐบาลลาว ทำให้ สินค้า ด้านเกษตรกรรม ปลอดสารพิษ เป็นที่ต้องการในตลาดไทย หากแต่การผลิต ยังคงมีปริมาณน้อยอยู่ เพราะ อุปสรรคด้าน ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิชาการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ แรงงาน

จากกระแส ธุรกิจ เพื่อสุขภาพ ที่กำลัง มาแรงในปัจจุบัน ทำให้ความต้องการ อาหารปลอดสารพิษ อาหารออร์แกนนิค น้ำดื่มที่สะอาดจากแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ กำลังเป็นกระแสที่ต้องการของตลาดไทย และหลายประเทศทั่วโลก ประเทศลาว มีชื่อเสียง ที่เด่นทางด้าน ความสะอาดของทรัพยากรทางธรรมชาติ แหล่งน้ำ อากาส และดิน ที่ปลอดสารพิษ เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ไม่ขึ้นทะเบียน สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช อันตราย 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่ม ไดโครโตฟอส ( ชื่อการค้า ไดครอน, ดีฟอส 33, ดรายรัน 33, ฮุยครอน) และ กลุ่ม เมโทนิล ( ชื่อการค้า แลนเนท, แลนน็อค, เอมิล, ทรีโทมิล)  ซึ่ง เป็นสารเคมีกำจัดศรัตรูพืช ที่หลายประเทศ โดย เฉพาะ ประเทศในแถบยุโรป  แคนาดา ญี่ปุ่น ห้ามนำใช้ และห้ามผลิต จึงทำให้ สินค้าเกษตรจาก ลาว ได้รับการยอมรับ และความเชื่อมั่น จากผู้บริโภค ถึงความสะอาด และปราศจากเคมี    นอกจากนี้ ประเทศลาว ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน น้อย หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทางผู้เขียน มีความคิดเห็นว่า หากทางภาครัฐ มีนโยบาย ส่งเสริม ให้ ประเทศลาว เป็น Hub ของ พืช ผัก ที่มาจากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ และสามารถแปรรูป อุตสาหกรรม อาหารปลอดสารพิษได้ จะสามารถเข้าสู่ตลาดประเทสไทย ที่มีประชากร จำนวน มากถึง 67 ล้านคน ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ มากกว่า ตลาดในลาวเอง หลายเท่าตัว

นอกเหนือจาก พืช ผัก อาหาร ปลอดสารพิษ แล้ว ธุรกิจ การท่องเที่ยวถือว่า เป็น การส่งออก ที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศลาว เป็นอันดับต้นๆ และ นักท่องเที่ยวจากประเทสไทย ถือว่า เป็นนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากที่สุด โดย เฉพาะ หลวงพระบาง วังเวียง ที่เป็นสถานที่ยอดฮิต ที่คนไทยทุกคนอยากมาเยือนมากที่สุด เพราะ ชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรม ที่ยังคงรักษาความสวยงาม ประเพณี ของท้องถิ่น และความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ธุรกิจ SME ในด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร สินค้าที่ระลึก การบริการด้านการท่องเที่ยว จึงถือว่า เป็นโอกาส ในตลาดประเทสไทย

จากการเข้าสู่ เอ อี ซี ทำให้ ประเทสลาว ได้รับการยอมรับ มากขึ้น ในเวทีสากล ทั้ง ด้านการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริม ธุรกิจ SME ซึ่ง เป็น หน่วยธุรกิจ ที่มีจำนวนมากที่สุด ในลาว ผู้เขียน อยาก เสนอให้ ผู้ประกอบการ ควรพิจารณา ในการส่งออกสินค้า เข้าสู่ ตลาด ในอาเซียนมากขึ้น นอกเหนือจากการผลิต และจำหน่ายในลาว โดยประเทศ ที่น่าสนใจมากที่สุด และมีอุปสรรคน้อยที่สุด คือประเทศไทย ทีมีจำนวนประชากรมากถึง 67 ล้านคน และยังมีความโดด เด่นด้าน โลจิสติก จึง เป็นตลาดที่น่าสนใจ สำหรับ ผู้ประกอบการ SME ในลาว ที่จะ ผลิตสินค้า และส่งออกไปยังประเทสไทย หรือ ส่งเสริมธุรกิจ ด้านการบริการ และการท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย

บทความใกล้เคียง:

Leave a comment